“การจัดการศึกษาปฐมวัย” หมายถึง การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 5 ปี (5 ปี 11 เดือน 29 วัน ) ซึ่งการจัดการศึกษาดังกล่าวจะมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างไปจากระดับอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะเด็กในวัยนี้เป็นวัยที่สำคัญต่อการวางรากฐานบุคลิกภาพและการพัฒนาทางสมอง การจัดการศึกษาสำหรับเด็กในวัยนี้มีชื่อเรียกต่างกันไปหลายชื่อ ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มีวิธีการและลักษณะในการจัดกิจกรรมซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยพัฒนาเด็กในรูปแบบต่าง ๆ กัน
การจัดการศึกษาปฐมวัยควรมีส่วนช่วยให้เด็กเกิดพัฒนาการและการเรียนรู้อย่างเต็มที่
ซึ่งแนวคิดในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กในวัยนี้ทุกรูปแบบควรมีส่วนสำคัญดังที่มาสโซเกลีย
(Massoglia. 1977 : 3 – 4 )
กล่าวเอาไว้ ดังนี้1. เป็นการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุกด้าน นับตั้งแต่แรกเกิดจนถึงเริ่มเข้าเรียนในระดับโรงเรียน 2. วางพื้นฐานทางสุขภาพอนามัยให้กับเด็กตั้งแต่ต้นรวมทั้งเด็กที่มีข้อบกพร่องต่าง ๆ
3. สิ่งแวดล้อมทางบ้านควรมีส่วนช่วยให้เด็กเจริญเติบโต และพัฒนาในทุก ๆ ด้าน
4. พ่อแม่ควรเป็นครูคนแรกที่มีความสำคัญต่อลูก
5. อิทธิพลจากทางบ้านควรมีผลต่อกระบวนการในการพัฒนาเด็ก
ความสำคัญของการศึกษาปฐมวัย
ความสำคัญของการศึกษาปฐมวัยคือการที่ครูจะสอนได้ดีนั้นจำเป็นต้องศึกษาเด็ก ยิ่งกว่านั้นงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาการทางสมองมนุษย์ยั้งเน้นความสำคัญของการศึกษาปฐมวัยโดยเฉพาะในช่วงของ5 ของปีแรกของชีวิตว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการเรียนรู้ และเด็กจำเป็นต้องได้รับการดูแล เอาใจใส่จากพ่อแม่หรือผู้ดูแลตั้งแต่แรกเกิดโดยการให้ความรัก การโอบกอด สัมผัส พูดคุย และเล่นกับเด็กเพื่อให้สมองของเด็กได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ตามศักยาภาพ การเข้าใจพัฒนาเด็กส่งผลดีต่อครูผู้สอนหลายประการ ผลดีประการหนึ่งคือ ช่วยให้ครูเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของเด็กได้ดียิ่งขึ้น ยังสามารถวางแผนหลักสูตร การเรียนการสอนได้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคนได้มากขึ้นศักยาภาพ การเข้าใจพัฒนาเด็กส่งผลดีต่อครูผู้สอนหลายประการ ผลดีประการหนึ่งคือ ช่วยให้ครูเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของเด็กได้ดียิ่งขึ้น ยังสามารถวางแผนหลักสูตร การเรียนการสอนได้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคนได้มากขึ้น
จุดมุ่งหมายการจัดการศึกษาปฐมวัย
หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย มุ่งให้เด็กพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล จึงกำหนดจุดมุ่งหมายซึ่งถือเป็นมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ได้ ดังนี้ (กระทรวงศึกษาธิการ 2546:31)
1. ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี
2. กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว และประสานสัมพันธ์กัน
3. มีสุขภาพจิตที่ดีและมีความสุข
4. มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจดีงาม
5. ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และรักการออกกำลังกาย
6. ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย
7. รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย
8. อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
9. ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
10. มีความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย
11. มีจิตนาการและความคิดสร้างสรรค์
12. มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีทักษะในการแสวงหาความรู้
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น